ข่าวประชาสัมพันธ์ มธ.
โดยงานประชาสัมพันธ์ กองกลาง โทร.613x3030
๑๕ ตุลาคม ๒๕๔๒

http://www.tu.ac.th/news/1999/10/15.htm


มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ 
ทูลเกล้าฯ ถวายนิติศาสตรดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ 
แด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว

มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ทูลเกล้าฯ ถวายนิติศาสตรดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ แด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ในพิธีพระราชทานปริญญาบัตร ประจำปีการศึกษา 2541 โดยจะมีพิธีทูลเกล้าฯ ถวายในวันที่ 28 ตุลาคม 2542 ณ หอประชุมใหญ่ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงมีพระอัจฉริยภาพอันสูงส่ง ทางด้านทฤษฎีกฎหมาย เป็นที่ประจักษ์แจ้งในบรรดานักนิติศาสตร์ทั้งมวล โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในสาขาสังคมวิทยากฎหมาย พระองค์มิได้ทรงศึกษากฎหมายแบบแยกส่วน หากแต่ทรงศึกษาพิเคราะห์กฎหมายอย่างเป็นองค์รวม กล่าวคือ ทรงพิจารณากฎหมาย ในฐานะที่เป็นปรากฏการณ์อย่างหนึ่งในสังคม มิได้ทรงมองกฎหมาย ในลักษณะที่เป็นเอกเทศ หรือแปลกแยกจากสังคม อย่างไร ก็ตาม ได้ทรงย้ำว่า กฎหมายกับความยุติธรรมนั้น มิใช่สิ่งเดียวกัน กฎหมายมีสถานะเป็นเพียงปัจจัย หรือเครื่องมือ ที่ใช้อำนวยความยุติธรรม ให้บังเกิดแก่คู่กรณีหรือแก่สังคมเท่านั้น ความยุติธรรมที่แท้จริง อยู่ที่จิตสำนึกของผู้ใช้กฎหมายว่า จะใช้กฎหมาย ให้เกิดความเป็นธรรมได้เพียงใด นักกฎหมายควรเปิดรับความจริง และพิจารณา ข้อเท็จจริงต่างๆ ด้วยใจเป็นธรรม และใช้กฎหมายเป็นเครื่องมือในการสร้าง ความยุติธรรม ให้เกิดขึ้นอย่างแท้จริง นักกฎหมายไม่ควรฝืน ที่จะใช้กฎหมายใด ที่ขัดกับความยุติธรรม ด้วยเหตุผลเพียงว่า ต้องปฏิบัติตามเพราะกฎหมายคือกฎหมาย หรืออีกนัยหนึ่งนักกฎหมายไม่ควรจะถือว่า กฎหมายมีความสำคัญยิ่งกว่าความยุติธรรม จนไม่ใส่ใจต่อความเป็นธรรม ซึ่งมีอยู่ในใจของวิญญูชน หรือที่เรียกว่าความยุติธรรม ตามธรรมชาตินั่นเอง และได้ทรงเสนอแนะ ให้มีการเผยแพร่กฎหมายให้แก่ ผู้ที่ด้อยโอกาสในสังคม และแก่ผู้ที่อยู่ในชนบทอันห่างไกล เพราะถ้าราษฎร มีความรู้เรื่องกฎหมายพอเพียง ก็จะทำให้การปกครองนั้นเป็นไปโดยความเรียบร้อย บ้านเมืองอยู่เย็นเป็นสุข

นอกจากนี้ ในฐานะที่ทรงเป็นพระมหากษัตริย์ภายใต้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงยึดมั่นในหลักการแห่งนิติรัฐอย่างเคร่งครัด ทรงดำรงมั่นอยู่ในหลักทศพิศราชธรรม และโบราณราชนิติประเพณีตลอดมา สมดังพระปฐมบรมราชโองการที่ว่า จะทรงปกครองแผ่นดินโดยธรรม เพื่อประโยชน์สุข แห่งมหาชนชาวสยาม ได้พระราชทานข้อสังเกต เกี่ยวกับการใช้ และการตีความกฎหมาย ที่สำคัญยิ่ง คือ ประการแรก ในการใช้การตีความกฎหมายนั้น นักกฎหมายจะต้อง รักษาเจตนารมณ์ หรือวัตถุประสงค์ของกฎหมายแต่ละฉบับไว้อย่างเคร่งครัด และประการที่สอง นักกฎหมาย หรือผู้มีอำนาจตามกฎหมาย จะต้องใช้กฎหมาย อย่างอะลุ่มอล่วย มีเมตตาธรรม มิใช่ใช้เพื่อเอาเปรียบ หรือกดขี่ผู้อื่น ซึ่งนับเป็น พระราชดำริที่สอดคล้องกับภาวการณ์ ของสังคมไทยในปัจจุบันเป็นอย่างยิ่ง

#421015-326a


นักศึกษารางวัลเรียนดี "ทุนภูมิพล" ประจำปีการศึกษา 2541

มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ประกาศรายชื่อนักศึกษาที่ได้รับรางวัลเรียนดี "ทุนภูมิพล" ประจำปีการศึกษา 2541 ตามระเบียบมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ว่าด้วย "ทุนภูมิพล" พ.ศ.2534 ข้อ 7 ให้รางวัลแก่นักศึกษาซึ่งสอบไล่ได้ปริญญาตรีเกียรตินิยม และเป็นผู้ได้คะแนนยอดเยี่ยม ในการสอบไล่วิชาเอกของแต่ละวิชา 
จำนวน 48 คน ดังนี้

1.คณะนิติศาสตร์ 
นางสาวกองแก้ว ว่องพิสุทธิพงศ์

2.คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี 
สาขาวิชาการบัญชี (ศึกษาเป็นภาษาไทย) 
นางสาวธิติมา วงศ์ไวโรจน์ 
สาขาวิชาการบัญชี (ศึกษาเป็นภาษาอังกฤษ) 
นาย ชนวุฒิ ประสาธน์ศักดิ์ 
สาขาวิชาการเงินและการธนาคาร (ศึกษาเป็นภาษาไทย) 
นางสาววรรณาภรณ์ อมรไพโรจน์ 
สาขาวิชาการเงินและการธนาคาร (ศึกษาเป็นภาษาอังกฤษ) 
นายสุธี ประเสริฐศิริรักษ์ 
สาขาวิชาการตลาด 
นางสาวพิชญา คงศิริวรกูล 
สาขาวิชาการบริหารการขนส่งระหว่างประเทศ 
นางสาวพรรณวิภา เล็กล้วนงาม 
สาขาวิชาระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ 
นางสาวอบฉันท์ อัสธีรวัฒน์

3.คณะรัฐศาสตร์ 
สาขาวิชาการเมืองการปกครอง 
นางสมุทร ทุ่งสาลีเกษตร 
สาขาวิชาบริหารรัฐกิจ 
นางสาวพิมพ์พนิต ภริตานนท์ 
สาขาวิชาการระหว่างประเทศ 
นางสาวกชกร ออศิริชัยเวทย์

4.คณะเศรษฐศาสตร์ 
(ศึกษาเป็นภาษาไทย) 
นายปกป้อง จันวิทย์ 
(ศึกษาเป็นภาษาอังกฤษ) 
นายพจนารถ สุนิรันดร์

5.คณะสังคมสงเคราะห์ศาสตร์ 
นางสาววรวรรณ มหาสิทธิ โชคชัย

6.คณะศิลปศาสตร์ 
สาขาวิชาจิตวิทยา 
นางสาวนนทยา ธนกุลพรรณ 
สาขาวิชาบรรณารักษศาสตร์และสารนิเทศศาสตร์ 
นางสาวจันทรกานต์ จินตนารักษ์ 
สาขาวิชาประวัติศาสตร์ 
นางสาวแพร ศิริศักดิ์ดำเกิง 
สาขาวิชาภาษาศาสตร์ 
นางสาวมันตา ศุภนคร 
สาขาวิชาภาษาอังกฤษ 
นางสาวแก้วกาญจน์ เฟื่องทอง 
สาขาวิชาภาษาและวรรณคดีอังกฤษ 
นางสาวฟ้าสว่าง พัฒนะพิเชฐ 
สาขาวิชาภาษาฝรั่งเศส 
นางสาวดลรวี อัครคุปต์ 
สาขาวิชาภาษาญี่ปุ่น 
นางสาวศิริพร เอี่ยมผ่องใส 
สาขาวิชาการละคอน 
นางสาวกุสุมา เทพรักษ์ 
สาขาวิชาภูมิศาสตร์ 
นางสาวภัทรพร สมพงษ์ 
สาขาวิชาภาษาจีน 
นางสาววรรณวนัช ฤกษ์ลัภนะนนท์ 
สาขาวิชาภาษาเยอรมัน 
นางสาวธัญชนก ศิลป์ฟ้าพานิช

7.คณะวารสารศาสตร์และสื่อสารมวลชน 
นายปิยะ พงศาพิทักษ์สันติ

8.คณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา 
นางสาวพัชราพร วีรสิทธิ

9.คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี 
สาขาวิชาสถิติ 
นางสาวโสภิดา โสวจัสสตากุล 
สาขาวิชาคณิตศาสตร์ 
นางสาวชญานิน เกิดผลงาม 
สาขาวิชาคณิตศาสตร์ประยุกต์ 
นางสาวพัชราภรณ์ ภูวรกิจ 
สาขาวิชาศาสตร์คอมพิวเตอร์ 
นายวรวิทย์ ตันยิ่งยง 
สาขาวิชาวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม 
นางสาวศศิธร อยู่สุข 
สาขาวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพ 
นางสาวอรวรรณ รัศมี 
สาขาวิชาเคมี 
นายวุฒิพงศ์ วงศ์เลิศศิริ 
สาขาวิชาเทคโนโลยีชีวภาพ 
นางสาวปิยาภรณ์ สุภัคดำรงกุล 
สาขาวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการอาหาร 
นางสาวมยุรา วงษ์ยี่หวา 
สาขาวิชาเทคโนโลยีการเกษตร 
นายประณัต อรุณประชา
สาขาวิชาเทคโนโลยีชนบท 
นางสาวอรุณจิตร ตรีสิทธิเชษฐ์

10.คณะวิศวกรรมศาสตร์ 
สาขาวิชาวิศวกรรมไฟฟ้า 
นายโกนาคมน์ บัวใหญ่ 
สาขาวิชาวิศวกรรมอุตสาหการ 
นางสาวพิลดา หวังพานิช 
สาขาวิชาวิศวกรรมโยธา 
นายจารุรนต์ เอื้อโรจนอังกูร 
สาขาวิชาวิศวกรรมเคมี 
นายณัฐพล มีฤทธิ์

11.สถาบันเทคโนโลยีนานาชาติสิรินธร 
สาขาวิชาวิศวกรรมไฟฟ้า (ศึกษาเป็นภาษาอังกฤษ) 
นางสาวพัชรา ถิรมนัส 
สาขาวิชาวิศวกรรมอุตสาหการ (ศึกษาเป็นภาษาอังกฤษ) 
นายมโน เอี่ยมเจริญยิ่ง 
สาขาวิชาวิศวกรรมโยธา (ศึกษาเป็นภาษาอังกฤษ) 
นาย นัฐกรณ์ บงกชเกตุสกุล 
สาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ (ศึกษาเป็นภาษาอังกฤษ) 
นายดนัย ตรีรัตน์วัฒนา

12.คณะแพทยศาสตร์ 
นายบุญเลิศ มิตรเมือง

#421015-326b


มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ให้แนวปฏิบัติแก่บัณฑิตใหม่
ใส่ใจสังคม ลดฟุ่มเฟือย พร้อมมีจริยธรรมในการทำงาน
ในงานรับปริญญาปีนี้

มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ปลูกฝังจิตสำนึกแก่บัณฑิตใหม่ ให้ตระหนักถึงปัญหาสังคม และเศรษฐกิจไทย ในคำขวัญ "รู้ประหยัด มีจริยธรรม เข้าใจปัญหาสังคมและเศรษฐกิจ คือบัณฑิต ธรรมศาสตร์" โดยเน้นเรื่องการประหยัด และมีวินัย ในงานรับพระราชทาน ปริญญาบัตร รวมถึง การปลูกฝังจริยธรรม เพื่อให้บัณฑิตธรรมศาสตร์ ออกไปทำงาน รับใช้สังคม อย่างมีคุณค่าต่อไป

รองศาสตราจารย์ ดร.นริศ ชัยสูตร อธิการบดีมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ให้สัมภาษณ์ว่า บัณฑิตธรรมศาสตร์ ควรต้องเป็นผู้นำสังคม ซึ่งในอดีต เราเป็นผู้นำสังคมต่อสู้ เพื่อประชาธิปไตยมาโดยตลอด และในปัจจุบัน สังคมไทยประสบกับภาวะวิกฤต ทางเศรษฐกิจ บัณฑิตควรช่วยกันสร้าง ค่านิยมใหม่ให้เกิดขึ้นในสังคม เช่น การประหยัด ในงานรับปริญญา การแสดงความยินดีกับ บัณฑิตใหม่เป็นสิ่งที่ดี แต่ไม่ควรให้สิ้นเปลือง มากเกินความจำเป็น ให้ดูเรียบง่าย แต่สมเกียรติ ตามรูปแบบ ของชาวธรรมศาสตร์ นอกจากนี้ ความเป็นระเบียบในการแต่งกาย โดยเฉพาะขณะสวมชุดครุย ซึ่งเป็นครุย พระราชทาน ไม่เหมาะสมที่จะนำเครื่องประดับ และดอกไม้มาประดับบน ชุดครุย หรือเหนือศีรษะของบัณฑิต รวมถึงการรู้จักรักษาวินัยในการฝึกซ้อมด้วย เพื่อเป็นแบบ อย่างที่ดีสำหรับบัณฑิตรุ่นต่อไป และที่สำคัญ บัณฑิตธรรมศาสตร์ ที่จบออกไปจะต้อง เป็นผู้มีคุณธรรม มีจริยธรรมในการทำงาน เพราะบัณฑิต จะต้องเป็นกำลังหลักต่อไป ในการสร้างสรรค์ประเทศ ซึ่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ จะถือเป็นนโยบาย ที่จะปลูกฝังจริยธรรม ให้กับนักศึกษาในโครงการต่างๆ ต่อไปด้วย

นอกจากนี้ อธิการบดีมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ กล่าวฝากตอนท้ายว่า ในปีนี้พื้นที่ สนามหลวง ซึ่งเคยใช้เป็นที่จอดรถ ในช่วงพิธีพระราชทานปริญญาบัตรนั้น ขณะนี้ทางกรุงเทพมหานคร ได้ทำการปิดเพื่อปรับปรุงพื้นผิวสนาม และบริเวณภายใน มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์มีพื้นที่จอดรถจำกัด ดังนั้น มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ขอความร่วมมือบัณฑิต และผู้ปกครอง ควรหลีกเลี่ยง การนำรถยนต์ส่วนตัวมา ในวันซ้อมใหญ่ และถ่ายภาพหมู่ ในวันที่ 26 ตุลาคม และในพิธีพระราชทานปริญญาบัตร ในวันที่ 28-29 ตุลาคม 2542 เพราะนอกจากจะไม่ได้รับความสะดวกแล้ว จะทำ ให้การจราจรติดขัดมากด้วย ควรใช้บริการรถรับจ้างสาธารณะ หรือใช้รถยนต์ร่วมของ ขสมก. จะเป็นการช่วยลดปัญหาจราจร ได้มากยิ่งขึ้น

#421015-327a


มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ขอความร่วมมือ
หลีกเลี่ยงการใช้เส้นทางจราจรบริเวณมหาวิทยาลัย 
ในวันที่ 26 , 28 และ 29 ตุลาคม นี้

มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ กำหนดประกอบ พิธีพระราชทานปริญญาบัตร แก่ผู้สำเร็จการศึกษา ประจำปีการศึกษา 2541 รวม 2 วัน 
ในวันพฤหัสบดีที่ 28 และวันศุกร์ที่ 29 ตุลาคม 2542 
และกำหนดพิธีฝึกซ้อมใหญ่ และถ่ายภาพหมู่ ในวันอังคารที่ 26 ตุลาคม 2542
ซึ่งในวันดังกล่าว จะมีญาติมิตรของบัณฑิตมาร่วมแสดงความยินดี เป็นจำนวนมาก อาจเป็นผลทำให้ การจราจรติดขัดในบริเวณมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เช่น สนามหลวง ราชดำเนิน ปิ่นเกล้า เจริญกรุง มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ จึงขอความร่วมมือ จากผู้ใช้รถทุกท่าน หากไม่มีความจำเป็นที่จะใช้เส้นทางดังกล่าว ขอให้หลีกเลี่ยง ไปใช้เส้นทางอื่น เป็นการชั่วคราว

อนึ่ง ในปีนี้พื้นที่สนามหลวง ซึ่งเคยใช้เป็นที่จอดรถในช่วงพิธีพระราชทานปริญญาบัตร ขณะนี้ทางกรุงเทพมหานคร ได้ปิดเพื่อทำการปรับปรุงพื้นผิวสนาม และบริเวณภายใน มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ มีพื้นที่จอดรถจำกัด มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ขอความร่วมมือ จากบัณฑิตและผู้ปกครอง ควรหลีกเลี่ยง การนำรถยนต์ส่วนตัวมา ในวันซ้อมใหญ่ และถ่ายภาพหมู่ ในวันที่ 26 ตุลาคม และในพิธีพระราชทานปริญญาบัตร ในวันที่ 28-29 ตุลาคม 2542 เพราะนอกจากจะไม่ได้รับความสะดวกแล้ว จะทำให้ การจราจรติดขัดมากด้วย ควรใช้บริการรถรับจ้างสาธารณะ หรือใช้รถยนต์ร่วมของ ขสมก. จะเป็นการช่วยลดปัญหาจราจรได้มากยิ่งขึ้น

#421015-328a